วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

การบวก




การบวกเลข
การบวก คือกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยการรวมสิ่งของเข้าด้วยกัน เครื่องหมายบวก (+) ถูกใช้แทนความหมายของการบวกจำนวน หลายจำนวน   นอกจากการนับจำนวนแล้วการบวกสามารถนำเสนอได้โดย การรวมกลุ่มปริมาณทางรูปธรรม หรือ นามธรรมอื่นๆ โดยใช้ประเภทที่แตกต่างกัน ของจำนวน เช่น  จำนวนลบ เศษส่วน  จำนวนตรรกยะ เวกเตอร์ ฯลฯ
ในฐานะของการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ การบวกดำเนินตามแบบแผนที่สำคัญบางประการ เช่นการบวกมีสมบัติการสลับที่ หมายความว่าลำดับของการบวกนั้นไม่สำคัญ และการบวกมีสมบัติการเปลี่ยนหมู่ นั่นคือเราสามารถบวกกันได้มากกว่าสองจำนวน  การบวกซ้ำๆ ด้วย  1  มีความหมายเหมือนการนับ ในขณะที่การบวกด้วย   0  จะไม่ทำให้จำนวนเปลี่ยนแปลง   นอกจากนี้การบวกยังคล้อยตามกฎเกณฑ์ที่ทำนาย ได้ เกี่ยวกับการดำเนินการที่เกี่ยวข้องเช่นการลบและการคูณ กฎเกณฑ์ทั้งหมดเหล่านี้ สามารถพิสูจน์ได้โดยเริ่มต้นจากการบวกของจำนวนธรรมชาติ  แล้วขยายขอบเขตออกไปยังจำนวนจริงและสูงขึ้นไป การดำเนินการทวิภาคทั่วไปที่คล้อยตามแบบแผนเหล่านี้ มีการศึกษาในพีชคณิตนามธรรม
การบวกเป็นหนึ่งในงานที่พื้นฐานที่สุดที่เกี่ยวข้องกับจำนวนตัวเลข การบวกของจำนวนน้อยๆ สามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก เด็กทารกอายุห้าเดือนรวมทั้งสัตว์บางชนิดก็สามารถรับรู้ว่า 1 + 1 จะได้ผลอะไร ในการเรียนระดับประถมศึกษา เด็กนักเรียนจะได้เรียนรู้การบวกจำนวนในระบบเลขฐานสิบ โดยเริ่มต้นจากจำนวนเลขหลักเดียว และพัฒนาการแก้ปัญหาในระดับที่ยากขึ้น เครื่องกลที่ช่วยคำนวณการบวกก็แตกต่างกันไป ตั้งแต่ลูกคิดโบราณจนไปถึงคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ซึ่งการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับการบวก ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดยังคงดำเนินมาจนถึงทุกวันนี้

 การบวกเบื้องต้น

การบวก คือผลรวมของจำนวนทั้งหมด ที่เราต้องการ ดังตัวอย่าง A = 5 และ B = 3
ผลบวกของ  A + B จะมีค่าเท่ากับ ผลรวมของ A และ
ดังนั้น A + B  = 5 + 3  =   8  จะอธิบายดังรูป

 จากรูปจะได้           A =  5          +           B  =  3               =      ?    

ทำการนับจำนวนทั้งหมด จะได้ผลบวกดังรูป

5                         +                  3                 =                  8

                                                                               ตอบ                   8



31/08/13 

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

การวัด






การวัด






การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการการจับเวลา /การวัดระยะทาง / การชั่งน้ำหนักหรือการตวง เราเรียกวิธีการซึ่งใช้ข้างต้นรวม ๆ กันว่าการวัด เช่นการชั่งน้ำหนัก เรียกว่า การวัดน้ำหนัก การตวง เรียกว่า การวัดปริมาตร

หน่วยการวัด คือ การบอกปริมาตรที่ได้จากการวัดต้องมีหน่วยการวัดจะใช้ตามระบบหน่วยสากล(International System of Unit) ซึ่งเรียกโดยย่อว่า หน่วย IS เช่น กรัม กิโลกรัม มิลลิกรัม เมตร กิโลเมตร วินาที ฯลฯ

การเลือกหน่วยในการวัดควรให้เหมาะสมกับสิ่งที่ใช้วัดเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและการอ่านค่าจากการวัด อาจทำให้ค่าการวัดคลาดเคลื่อนได้ ค่าที่ได้จากการวัดจึงถือเป็นค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
การบอกค่าประมาณของปริมาณของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ได้วัดจริง เรียกว่า การคาดคะเน
หน่วยรากฐานของระบบ SI มี 7 หน่วยที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน ( basic quantity ) ได้แก่

เมตร ( Meter : m ) เป็นหน่วยใช้วัดความยาว
กิโลเมตร ( Kilogramme : kg ) เป็นหน่วยใช้วัดมวล
วินาที ( Second : s ) เป็นหน่วยใช้วัดเวลา
แอมแปร์ ( Ampere : A ) เป็นหน่วยใช้วัดกระแสไฟฟ้า
เคลวิน ( Kelvin : K ) เป็นหน่วยใช้วัดอุณหภูมิ
แคนเดลา ( Candela : cd ) เป็นหน่วยใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง
โมล ( Mole : mol ) เป็นหน่วยใช้วัดปริมาณของสาร

เครื่องมือที่ใช้ในการวัด และการอ่านค่าจากการวัด อาจทำให้ค่าการวัดคลาดเคลื่อนได้ ค่าที่ได้จากการวัืด

จึงถือเป็นค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงการบอกค่าประมาณของปริมาณของสิ่งต่างๆ โดยไม่ได้วัดจริง

เรียกว่า การคาดคะเน

การวัดพื้นที่

หน่วยการวัดพื้นที่ที่สำคัญ ที่ควรรู้จัก

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบเมตริก

1 ตารางเซนติเมตร เท่ากับ 100 หรือ 102 ตารางมิลลิเมตร

1 ตารางเมตร เท่ากับ 10,000 หรือ 104 ตารางเซนติเมตร

1 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 1,000,000 หรือ 106 ตารางเซนติเมตร

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษ

1 ตารางฟุต เท่ากับ 144 หรือ 122 ตารางนิ้ว

1 ตารางหลา เท่ากับ 9 หรือ 32 ตารางนิ้ว

1 เอเคอร์ เท่ากับ 4, 840 ตารางหลา

1 ตารางไมล์ เท่ากับ 640 เอเคอร์

หรือ 1 ตารางไมล์ เท่ากับ 1, 7602 ตารางหลา

หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทย

100 ตารางวา เท่ากับ 1 งาน

4 งาน เท่ากับ 1 ไร่

หรือ 400 ตารางวา เท่ากับ 1 ไร่

หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทยเทียบกับระบบเมตริก

1 ตารางวา เท่ากับ 4 ตารางเมตร

1 งาน เท่ากับ 400 ตารางเมตร

หรือ 1 ไร่ เท่ากับ 1, 600 ตารางเมตร

1 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 625 ไร่

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษกับระบบเมตริก ( โดยประมาณ )

1 ตารางนิ้ว เท่ากับ 6.4516 ตารางเซนติเมตร

1 ตารางฟุต เท่ากับ 0.0929 ตารางเมตร

1 ตารางหลา เท่ากับ 0.8361 ตารางเมตร

1 เอเคอร์ เท่ากับ 4046.856 ตารางเมตร ( 2. 529 ไร่ )

1 ตารางไมล์ เท่ากับ 2.5899 ตารางกิโลเมตร


ตัวอย่าง

1. ที่ดิน 12.5 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นกี่ตารางเมตร

เนื่องจากพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 106 ตารางเมตร

ดังนั้นพื้นที่ 12.5 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 12.5 x 106

= 12.5 x 107 ตารางเมตร

ตอบ 12.5 x 107 ตารางเมตร


2. พื้นที่ชั้นล่างของบ้านรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้ากว้าง 6 วา ยาว 12 วา ผู้รับเหมาปูพื้นคิดค่าปูพ้นตารางเมตรละ 37 บาท จะต้องเสียค่าปูพื้นเป็นเงินเท่าไร

พื้นที่ชั้นล่างของบ้านมีความกว้าง 6 วา

ความยาว 12 วา

ดังนั้น พื้นที่ชั้นล่างของบ้านมีพื้นที่เป็น 6 x 12 = 72 ตารางวา

พื้นที่ 1 ตารางวา เท่ากับ 4 ตารางวา

ถ้าคิดพื้นที่เป็นตารางเมตร พื้นที่ชั้นล่างของบ้านมีพื้นที่เป็น

72 x 4 = 288 ตารางเมตร

ดังนั้น เสียค่าปูพื้นเป็นเงิน 288 x 37 = 10, 656 บาท


ตอบ 10, 656 บาท







วันที่ 22 /08/2556

รูปทรงเรขาคณิตสามมิติ





รูปเรขาคณิตสามมิติ

ระดับชั้นมัธยมต้นนี้ นักเรียนควรมีพื้นฐานเกี่ยวกับ พื้นที่ผิวและปริมาตรที่ควรทราบ ดังนี้

ปริซึม

ปริซึม เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีหน้าตัด(ฐาน) ทั้งสองข้างเป็นรูปหลายเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการหน้าตัด (ฐาน) ทั้งสองอยู่ในระนาบที่ขนานกัน มีหน้าข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก การเรียกชื่อปริซึมจะเรียกตามรูปหน้าตัดของปริซึมส่วนต่างๆของปริซึมมีชื่อเรียก ดังนี้

 ทรงกระบอก
ทรงกระบอก เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานสองฐานเป็นรูปวงกลมที่เท่ากันทุกประการและอยู่บนระนาบที่ขนานกัน และเมื่อตัดรูปเรขาคณิตสามมิตินั้นด้วยระนาบที่ขนานกับฐานแล้ว จะได้หน้าตัดเป็นวงกลมที่เท่ากันทุกประการกันฐานเสมอ ด้านข้างเป็นผิวเรียบโค้งส่วนต่างๆของทรงกระบอก
ข้อแตกต่างของปริซึมกับทรงกระบอก คือ
- ฐาน ปริซึมเป็นรูปหลายเหลี่ยมทรงกระบอกเป็นวงกลม- ด้านข้าง ปริซึมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงกระบอกเป็นผิวเรียบโค้ง
พีระมิด

พีระมิด เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมใดๆ มียอดแหลมที่ไม่อยุ่บนระนาบเดียวกันกับฐาน และหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกันที่ยอดแหลมนั้น การเรียกชื่อพีระมิดจะเรียกตามรูปฐานของพีระมิด
ส่วนต่างๆของพีระมิด


กรวย

กรวย เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลม มียอดแหลมที่ไม่อยู่ในระนาบเดียวกันกับฐาน และเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดกับจุดใดๆ บนขอบของฐานเป็นส่วนของเส้นตรงดด้านข้างเป็นผิวโค้งเรียบระมิ
ส่วนต่างๆของกรวย
ข้อแตกต่างของพีระมิดกับกรวย คือ- ฐาน พีระมิดฐานรูปหลายเหลี่ยมกรวยฐานรูปวงกลม
- ด้านข้าง พีระมิดเป็นรูปสามเหลี่ยมผืนผ้า
กรวยเป็นผิวเรียบโค้ง

ทรงกลม

ทรงกลม เป็น รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีด้านข้างเป็นผิวโค้งเรียบ และจุดทุกจุดบนผิวโค้งอยู่ห่างจากจุดคงที่จุดหนึ่งเป็นระยะเท่ากัน เรียกจุดคงที่ว่า จุดศูนย์กลางของทรงกลม
เรียกระยะที่เท่ากันว่า รัศมีของทรงกลม
ส่วนต่างๆของทรงกลม

อ้างอิง http://pukbungzaza.blogspot.com/
02/09/2013





กราฟ

กราฟ

1.กราฟ คือ การเขียนแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลสองกลุ่มบนแกนพิกัดฉากโดยข้อมูลกลุ่มแรกมีพิกัดตามแกน X ข้อมูลกลุ่มที่สองมีพิกัดตามแกน Y
2.สมการเชิงเส้นสองตัวแปร คือ สมการที่เขียนในรูป Ax + By + C = 0  เมื่อ x , y                        
 เป็นตัวแปร A , B , C เป็นค่าคงที่ A และ B ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน
 3. กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร แบ่งเป็น  3 ลักษณะดังนี้
 - A = 0 แต่ B สามารถเขียนในรูปทั่วไปเป็น By + C = 0 กราฟมีลักษณะเป็นเส้นตรงขนานกับแกน X กราฟห่างจากแกน X เท่ากับ –C/B จุดตัดแกน Y มีพิกัด – C/B,0
 - A 0 แต่ B = 0  สามารถเขียนในรูปทั่วไปเป็น Ax + C = 0 กราฟมีลักษณะเป็นเส้นตรงขนานกับแกน Y กราฟห่างจากแกน Y เท่ากับ – C/A จุดตัดแกน X มีพิกัด –C/A,0
 - A
0 และ B
สามารถเขียนในรูปทั่วไปเป็น Ax + By + C กราฟมีลักษณะเป็นเส้นตรงไม่ขนานกับแกนใด 
4.การเขียนกราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรสองสมการบนแกนเดียวกั
สมการเชิงเส้นสองตัวแปรสามารถเขียนในรูป y = ax + b เมื่อเขียนสมการเชิงเส้น
 สองตัวแปรสองสมการบนแกนเดียวกันสมการทั้งสองคือ
 y เท่ากับ a1+a2
y ไม่เท่ากับ a1+a2
กราฟที่เกิดขึ้นมีลักษณะดังนี้
-ถ้า a1 เท่ากับ a2 กราฟขนานกัน
 -ถ้า a1 ไม่เท่ากับ a2 กราฟตัดกัน


  
02/09/2013


เซต





เรื่อง เซต
 เซต
เซต  เป็นคำที่ใช้บ่งบอกถึงกลุ่มของสิ่งต่างๆ และเมื่อกล่าวถึงกลุ่มใดแน่นอนว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่ม สิ่งใดไม่อยู่ในกลุ่ม เช่น
       เซตสระในภาษาอังกฤษ  หมายถึง  กลุ่มของอังกฤษ  a, e, i, o และ u
       เซตของจำนวนนับที่น้อยกว่า 10 หมายถึง  กลุ่มตัวเลข 1,2,3,4,5,6,7,8,และ9
        สิ่งที่ในเชตเรียกว่า  สมาชิก  ( element หรือ members )
การเขียนเซต
การเขียนเซตอาจเขียนได้ 2  แบบ
1 การเขียนซตแบบแจกแจงสมาชิก  เขียนสมาชิกทุกตัวลงในเครื่องหมายวงเล็บปีก กา { }  และใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) คั่นระหว่างสมาชิกแต่ละตัว  เช่น
        เซตของจำนวนนับที่น้อยกว่า  7  เขียนแทนด้วย  {1,2,3,4,5,6,}
        เซตของพยัญชนะไทย  5  ตัวแรก  เขียนแทนด้วย  { ,,,, }
2.เขียนแบบบอกเงื่อนไข  ใช้ตัวแปรเขียนแทนสมาชิกของเซต  แล้วบรรยายสมบัติของสมาชิกที่อยู่รูปของตัวแปร  เช่น
        {x| x เป็นสระในภาษาอังกฤษ } อ่านว่า เซตของ x โดยที่ x เป็นสระในภาษาอังกฤษ
        {x| x  เป็นเดือนแรกและเดือนสุดท้ายของปี } อ่านว่า เซตของ xโดยที่ x เป็นเดือนแรกและเดือนสุดท้ายของปี  เครื่องหมาย “ | ”  แทนคำว่า  โดยที่
         ในการเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิกนั้นจะใช้จุด ( ... )  เพื่อแสดงว่ามีสมาชิกอื่นๆ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่ามีอะไรบ้างที่อยู่ในเซต  เช่น
        { 1,2,3,...,10  สัญลักษณ์ ... แสดงว่ามี 4,5,6,7,8 และ9 เป็นสมาชิกของเซต
        { วันจันทร์, อังคาร, พุธ,..., อาทิตย์ } สัญลักษณ์ ... แสดงว่ามีวันพฤหัสบดี  วันศุกร์  และวันเสาร์  เป็นสมาชิกของเซต 
สัญลักษณ์แทนเซต 
ในการเขียนเซตโดยที่ทั่วไปจะแทนเซตด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่  เช่น A,B,C และแทนสมาชิกของเซตด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น a,b,c เช่น
        A = {1,4,9,16,25,36}  หมายถึง A เป็นเซตของกำลังสองของจำนวนนับหกจำนวนแรก }
สมาชิกของเซต
จะใช้สัญลักษณ์ “   ”  แทนคำว่าเป็นสมาชิกหรืออยู่ใน  เช่น
A = {1,2,3,4}
จะได้ว่า  1   เป็นสมาชิกของ  A หรืออยู่ใน A เขียนแทนด้วย  1  €A
               3   เป็นสมาชิกของ   หรืออยู่ใน A เขียนแทนด้วย  3 A
คำว่า ม่เป็นสมาชิก หรือ ไม่อยู่ใน”  เขียนด้วยสํญลักษณ์    ”  เช่น
               5  ไม่เป็นสมาชิกของ A หรือไม่อยู่ใน A เขียนแทน 5€A
               7 ไม่เป็นสมชิกชอง A หรือไม่อยู่ใน A เขียนแทนด้วย  7€A
สำหรับเซต A ซึ่งมีสมาชิก 4 ตัว เราจะใช้ n(A) เพื่อบอกจำนวนสมาชิกของเซต A นั่นคือ n(A) = 4
ตัอย่างที่ 1   จงเขียนเซตต่อไปนี้แบบแจกแจงสมาชิก
                    1.เซตของจังหวัดในประเทศไทยที่ลงท้ายด้วยบุรี
                    2.ซตของจำนวนเมลบ
                    3.เซตของพยัญชนะในภาษาไทย
วิธีทำ           1.ให้  A เป็นเซตของจังหวัดในประเทศไทยที่ลงท้ายด้วยบุรี
                    A = {  สุพรรณบุรี, ปราจีนบุรี, สิงห์บุรี,..., ลพบุรี }
                    2. ให้ B เป็นเซตของจำนวนต็มลบ
                    B = {-1,-2,-3,…}
                    3. ให้C เป็นเซตของพยัญชนะในภาษาไทย
                    C = {,,,…,}

ตัวอย่างที่ 2   จงเขียนเซตต่อไปนี้แบบบอกเงื่อนไข
                     1. A = {2,4,6,8,10}
                     2. B = {1,3,5,7}
วิธีทำ            1.A = {x| x เป็นจำนวนคู่บวกที่น้อยกว่า 12 }
                     2.B = {x| x เป็นจำนวนคี่บวกที่น้อยกว่า 9 }
เซตว่าง
คือ เซตที่ไม่มีสมาชิก สัญลักษณ์ที่ใช้ในเซตว่าง คือ {} หรือ( อ่านว่าไฟ (phi))
ตัวอย่างของเซตว่างได้แก่
         A = { x| x เป็นจังหวัดในประเทศไทยที่ขึ้นต้นด้วย ”}
เซตจำกัด
คือ เซตซึ่งมีจำนวนสมาชิกต็มบวกหรือศูนย์
ตัวอย่างเซตจำกัด ได้แก่
         A = {0,2,4,…,10} , n(A) = 11
         B = {x| x เป็นพยัญชนะในคำว่า เซตว่าง }, n( A )  4
         C = {1,2,…,8}
เซตอนันต์
คือ เซตที่มีจำนวนมากมาย  นับไม่ถ้วน
ตัวอย่างเซตอนันต์ ได้แก่
         A = {x| x เป็นจำนวนเฉพาะที่มากกว่า 5 }
         B = {x| x 3,7,11,15,…}
         C = {1,2,3,…}
ข้อตกลงเกี่ยวกับเซต
1.            เซตว่างเป็นเซตจำกัด
2.            การเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิกเขียนสมาชิกแต่ละตัวเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
เช่น เซตของเลขโดดที่อยู่ในจำนวน 232 คือ {2,3}
3.   เซตของจำนวนที่มักจะกล่าวถึงเสมอและใช้กันทั่วไป  มีดังนี้
       

I เป็นเซตของจำนวนเต็ม หรือ I = {…,-2,-1,0,1,2,...}
I เป็นเซตของจำนวนต็มบวก หรือ I = {1,2,3,…}
I เป็นเซตของจำนวนต็มลบ หรือ I = {-1,-2,-3,…}
N เป็นเซตของจำนวนนับ หรือ N = {1, 2, 3,…}
P เป็นเชตของจำนวนเฉพาะ หรื P = { 2, 3 , 5 , 7,…}
เซตที่เท่ากัน
เซต A = B หมายถึง สมาชิกทุกตัวของเซต A เป็นสมาชิก ของเซต A เป็นสมาชิกของเซต B เป็นสมาชิกของเซต A เท่ากับเซต B เขียนแทนด้วย A = B
และเซตA ไม่เท่ากับเซต B หมายความว่า มีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งตัวของเซต A ที่ไม่ใช้สมาชิกของเซต B หรือมีสมาชิกอย่างน้อยของเซต B ที่ไม่ใช่สมาชิกของเซต A เขียนแทนด้วย AB
ตัวอย่างที่  1    A = {0,1,2 } และ  B = {2,0,1}
                       ดั้งนั้น เซต A เท่ากันกับเซต B เขียนแทนด้วย  A = B
คัวอย่างที่  2   กำหนด A= {1,1,2,4,5,6} , B ={2,1,2,4,5,6}, C = {1,2,4,5,5,6,7,8}
จงหาว่ามีเซตใดบ้างที่เท่ากัน
     วิธีทำ      A = {1,1,2,4,5,6}, B ={2,1,2,4,5,6}
                   จะได้  A=B เพราะมีสมาชิกเหมือนกันทุกตัว
                    แต่ AC , BC เพราะว่า7 €A และ 7  B
เอกภพสัมพัทธ์
ในการเขียนเซตบอกเงื่อนไขของสมาชิก  จะต้องกำหนดเซตของ  เอกภพสัมพัทธ์  เขียนแทนด้วย U โดยมีข้อตกลงว่า  เมื่อกล่าวถึงสมาชิกของเซต จะไม่กล่าวถึงสิ่งอื่นนอกเหนือจากสมาชิกในเอกภพสัมพัทธ์
ตัวอย่างที่ 1 U = {x| x เป็นพยัญชนะในภาษาไทย } และ {x| x เป็นพยัญชนะในภาษาไทย 3 ตัวแรก }
จงเขียนเซต  แบบแจกแจงสมาชิก
วิธีทำ           U = {,,,...,}
 ดังนั้น   A = {,,}
ตัวอย่างที่ 2  U = {1,2,3,…} , B {x| x เป็นจำนวนนับที่น้อยกว่า 5 } จงเขียน B แบบแจกแจงสมาชิก
วิธีทำ         U = {1,2,3,…}
       ดังนั้น       B = {1,2,3,4}  
 สับเซตและเพาเวอร์เซต
เซต A เป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อ  สมาชิกทุกตัวของ A เป็นสมาชิกของ B เขียนแทนด้วย AB เซต A ไม่เป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อ มีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งตัวของเซต A ที่ไม่ป็นสมาชิกของเซต B เขียนแทนด้วย AB เช่น
A = {3,5} และ B = {1,3,5,7,9}
จะได้ว่า  A     B แต่  A
สมบัติของสับเซต
1.             A และ   A
2.            ถ้าAB และ BC แล้วAC
3.            ACและ BC ก็ต่อเมื่อ A = B
เพาเวอร์เซต
          เพาเวอร์เซตของเซต A คือ เซตของสับซตทั้งหมดของ A เขียนแทนด้วย P(A)
เช่น A= {2,4,6}
จะไดว่า เพาเวอร์เซตของซต A คือ
P(A) = { {2},{4},{6},{2,4},{2,6},{4,6},{2,4,6},เซตว่าง}
สมบัติของเพาเวอร์เซต
1.        P(A) และ        P(A)
2.A   P(A) 
3.ถ้า A เป็นเซตจำกัด n(A)= k  n(P(A))= 2
4.A   B ก็ต่อเมื่อ P(A)      P(B)
5.P(A)   P(B) = P(A   B)
6.P(A)   P(B)    P(A   B
แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์    
เป็นแผนภาพที่ใช้แสดงความเกี่ยวข้องกับเซต  เพื่ช่วยในการคำนวณหรือแก้ไขปัญหา  มีวิธีการเขียนดังนี้   ให้เอกภพสัมพัทธ์    แทนด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า   เซตA,B,C… ซึ่งเป็นสับเซตของ  แทนด้วยวงกลม  วงรี หรือรูปปิดอื่นๆ  โดยให้เซต A,B,C… อยู่ใน U
 ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน และคอมพลีเมนต์ของเซต
- ยูเนียน (Union) : ยูเนียนของเซต A และเซต B จะได้เซตใหม่ ซึ่งมีสมาชิกของเซต A หรือเซต B  หรือทั้งสองเซต
    ยูเนียนของเซตA และเซต B เขียนแทนด้วย A   B ”
A   B = {x| x   A หรือ x เ ป็นสมาชิกของทั้งสองเซต}
เช่น A = {1,3,5} และ B = {3,6,9}
จะได้  A    B ={1,3,5,6,9}
- อินเตอร์เซกชัน (Intersection): อินเตอร์เซกชันของเซต A และเซต B จะได้เซตใหม่ ซึ่งสมาชิกเป็นสมาชิกของเซตทั้งเซต A และเซต B
    อินเตอร์เซกชันของเซตA และเซต B เขียนแทนด้วย A    B ”
A    B = {x| x   A และ x   B}
เช่น A = {1,2,3,4,} , B = {2,4,6} และ C = {0,1}
จะได้   A   B = {2,4}
            A   C = {1}
            B   C = {}   
- คอมพลีเมนต์ (Complement) : คอมพลีเมนต์ของเซต A คือ เซต A ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของ U แต่ไม่ใช่สมาชิกของเซต A
   คอมพลีเมนต์ของเซต A เขียนแทนด้วย A ”
A = {x| x €  U และ  €  A }
   เช่น  U ={0,1,2,3} , A ={0,2,4} และ B = {1,3}
จะได้  A = {1,3}
           B = {0,2}
- ผลต่างระหว่างเซต  (Difference of Sets ) : ผลต่างระหว่างเซต A และเซต B คือสมาชิกอยู่ในเซต B
   ผลต่างระหว่างเซต A และเซต B เขียนแทนด้วย A – B ”
A-B ={x| x €  A และ x €   B}
   เช่น A = {0,1,2,3,4} และ B = {1,3,5,7,9}
จะได้  A-B = {0,2,4}
          B-A = {5,7,9}
 จำนวนของสมาชิกของเซตจำกัด
จำนวนของสมาชิกจำกัดของเซต  A  ใดๆ เขียนแทนด้วย n(A)
การหาจำนวนสมาชิกของเซตจำกัด  ทำได้โดย
-                   การนับแผนภาพของเวนน์-ออยเลอร์
-                   การใช้หลักเกณฑ์ ต่อไปนี้
ถ้าเซต A เซต B และเซต C เป็นเซตจำกัด
      -   n(A   B) = n(A) +n(B) – n(A   B)

      -   n(A   B) = n(A) +n(B)+ n(C)-n( B)-n( C)-n( C)+n(A   B   C)

         02/09/2013